ผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านอาจสงสัยว่าหลังจากที่จดทะเบียนบริษัทแล้วต้องจัดทำบัญชี ทำภาษีอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบครับ
- ควรแยกบัญชีเงินฝากธนาคารของบริษัทออกจากบัญชีส่วนตัวให้ชัดเจน เพราะเนื่องจากหากใช้บัญชีรวมกันจะทำให้เราไม่สามารถแยกได้ระหว่างรายได้ รายจ่าย ของบริษัท หรือของส่วนตัว รวมทั้งจะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามรถวัดผลการดำเนินงานที่แท้จริงได้
- ทุกครั้งที่มีการซื้อของ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต้องขอเอกสารประกอบ เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสดที่มีชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และต้องระบุชื่อบริษัทของเราด้วย โดยหากบริษัทมีการซื้อของจากบุคคลธรรมดา ให้เก็บ หลักฐานการโอนเงิน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี
- อย่าลืมหัก ภาษี ณ ที่จ่าย หากบริษัทเป็นผู้จ่ายเงิน โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ที่บริษัทต้องหัก ณ ที่จ่าย อาทิเช่น
- ค่าบริการ หัก 3%
- ค่าเช่า หัก 5%
- ค่าขนส่ง หัก 1%
- ค่าโฆษณา หัก 2%
- ขึ้นทะเบียนประกันสังคม ถ้าหากมีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยมีการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือน กิจการต้องไปขึ้นทะเบียนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มจ้างงาน ที่สำนักงานประกันสังคม และนำส่ง ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก ในกรณีที่กิจการมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้สำหรับเงินเดือนของพนักงานที่ถึงเกณฑ์กำหนด
- อย่าลืมจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT หากบริษัทมีรายได้เกิน 8 ล้านบาทต่อปี
จัดเก็บเอกสารรายรับ รายจ่าย เพื่อป้องกันการสูญหาย